วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

เราจะพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารโครงการได้หรือไม่

การบริหารโครงการโดยทั่วไปมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้มากมาย แต่ที่นิยมกันคือ Microsoft Project ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องใช้งบประมาณในการจัดหา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะต้องติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน นั้นหมายความว่าผู้ใช้งานจะต้องมีแผ่น CD หรือ Download โปรแกรมเพื่อติดตั้ง จะเห็นว่าอาจจะค่อนข้างยุ่งยากในการใช้งาน ลักษณะของโปรแกรมดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานบันทึกงานย่อยต่างๆ แสดงสารสนเทศในลักษณะของแผนภูมิที่เรียนว่า Gantt Chart (http://en.wikipedia.org/wiki/Gantt_chart) แล้วแสดง ผังข่ายงาน ทั้งที่เป็นแบบ AOA และ AON (http://people.brunel.ac.uk/~mastjjb/jeb/or/netaoa.html) ( http://www.cs.nott.ac.uk/~jds/teaching/archive/G52LSSLecture6.pdf) พร้อมทั้งสามารถระบุ Critical Path ได้ อย่างไรก็ดี Microsoft Project ไม่ใช้สามารถที่จะคำนวณความน่าจะเป็นที่จะแล้วเสร็จตามที่ผู้ใช้งานระบุวันที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของโปรแกรมดังกล่าวที่มีอยู่
ดังนั้น ผู้เขียน จึงมีแนวความคิดว่าเราน่าจะสามารถพัฒนาโปรแกรมบริหารโครงการขึ้นมาใช้งานเพื่อการเรียนการสอนและใช้ในงานบริหารโครงการที่ไม่ใช่ขนาดใหญ่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

การบริหารโครงการ และการพัฒนาโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากในปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลตามแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 ได้ถูกประกาศใช้ไปเมื่อปี 2552 โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงการ Open Source ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ ที่มีผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับกระทรวง ระดับกรม ระดับกอง และระดับต่างๆ ควรจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อจะทำให้การพัฒนาด้าน Open Source มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ โครงการหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลักษณะ Open Source ด้านการบริหารโครงการ (Project Management) โดยปกติหน่วยงานต่างๆ ได้มีการใช้โปรแกรม Microsoft Project ซึ่งจะต้องมีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดหาโปรแกรมดังกล่าว หรือโปรแกรมอื่นๆ ก็เช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากว่ามีหน่วยงานของไทยได้ช่วยกันพัฒนาโปรแกรมบริหารโครงการขึ้นมา น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การทำงาน และที่สำคัญ คือ จะประหยัดงบประมาณในการจัดหาอย่างมากมายมหาศาล
ผู้เขียนจึงคิดว่า แนวความคิดดังกล่าวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของผู้ที่เกี่ยวกับทั้งอาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา ที่จะช่วยกันคิดช่วยกันทำพัฒนาโปรแกรมดังกล่าว โดยหลักคิด คือ ตัวป้อน หรือ Input ข้อมูลในระบบโปรแกรมจะเป็นงานย่อยต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ โดยแต่ละงานจะมีรายละเอียด เช่น งานก่อนหลัง ระยะเวลาที่ดำเนินการ ระยะเวลาที่เร็วที่สุด ระยะเวลาที่ช้าที่สุด ระยะเวลาที่เป็นไปได้ที่สุด เป็นต้น และ Output ที่ต้องการ คือ เส้นทาง Critical ผังข่ายงาน ที่เป็นทั้งระบบ AON AOA รวมทั้ง ความน่าจะเป็นที่จะแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดให้
คำถาม สำหรับนักศึกษา คือ ว่า ระบบโปรแกรมดังกล่าวจะเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร และถ้าเป็นไปได้ ในความคิดของท่าน ท่านคิดว่าจะมีกระบวนการและวิธีการอย่างไร เพื่อจะให้ระบบโปรแกรมดังกล่าวแล้วเสร็จ