วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จรรยาบรรณในการบริหารโครงการ

จรรยาบรรณในการบริหารโครงการ

การบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่ผู้บริหารโครงการต้องการวิ่งชนในบรรลุตามที่เป้าหมายได้กำหนดไว้ทั้งในวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น มีหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการที่โครงการไม่แล้วเสร็จไม่ว่าจะเป็นเงินทุนงบประมาณในการบริหารโครงการ การบริหารคนหรือที่เรียกว่าทรัพยากรมนุษย์หรือบุคคล ตลอดจนทรัพยากรด้านอื่นๆ และอีกสิ่งหนึ่งน่าจะเป็น จรรยาบรรณของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจรับงาน (ผู้ตรวจการจ้าง) ผู้รับงาน (ผู้รับผิดชอบโครงการ)

จรรยาบรรณ คือ อะไร
มีผู้รู้ Guru ได้ให้ความเห็น ได้ให้ความหมาย เช่น จรรยาบรรณ คือ หลักความประพฤติปฏิบัติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพที่บุคคลในแต่ละวิชาชีพได้ประมวลขึ้นเป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นถึงจริยธรรมปลูกฝัง และเสริมสร้างให้สมาชิกมีจิตสำนึกบังเกิดขึ้นในตนเองเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร และมุ่งหวังให้สมาชิกได้ยึดถือ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสมาชิก และสาขาวิชาชีพของตน(http://www.smebank.co.th/chariyatham.php)

การปฏิบัติที่ถูกที่ควร สมมติว่าโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศประเภทหนึ่ง ถ้าหากมีการว่าจ้างบริษัทผู้รับจ้างเข้ามาำพัฒนาตาม TOR ของผู้ว่าจ้างกำหนดไว้ ถ้าหากผู้ตรวจการจ้างไม่มีการปฏิบัติที่ถูกที่ควร เช่น ไม่เคร่งครัดให้ผู้รับจ้างทำตาม TOR ที่ำกำหดนอย่างนี้เป็นต้น แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ อยากจะให้นักศึกษาได้แสดงข้อคิดเห็นเพื่อให้เพื่อนๆ สมาชิกของกลุ่มพวกเราได้แลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าวให้ได้มากที่สุด
เพราะที่สำคัญคือ ในการบริหารโครงการจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำทุกอย่างตามที่ได้วางแผนหรือกำหนดไว้



1 ความคิดเห็น:

  1. หากผู้ว่าตรวจการจ้างไม่มีการปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกที่ควร เช่นไม่เคร่งครัด หรือละเลย ให้ผู้รับจ้างไม่ทำตาม TOR ที่กำหนด ผลที่ตามมาที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ องค์กรหรือหน่วยงานนั้น จะได้ระบบสารสนเทศ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ตรงตามความต้องการ ตามที่ตั้งไว้ ทำให้องค์กร/หน่วยงาน ใช้งบประมาณไม่คุมค่า ครับ

    ดังนั้น บุคลากรในองค์กรก็สำคัญครับ ควรมีจรรยาบรรณ ปฏิบัติตามหน้าทีของตน ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาผลประโยชน์ขององค์กร ไม่ทำให้องค์กรสูญเสียผลประโยชน์ ยืดผลประโยชน์ขององค์กร/หน่วยงาน เป็นหลัก

    ตอบลบ